รูปแบบการเขียน Flowchart

รูปแบบการเขียนผังงาน (Flowchart)

รูปแบบการเขียนผังงาน (Flowchart) มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ

     1.  การเขียน Flowchart แบบ "เรียงตามลำดับ" Sequence
   เป็นรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัดและทำทีละบรรทัดจากบบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมุติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการ คือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์


2.  การเขียน Flowchart แบบ "เลือกกระทำตามเงื่อนไข" Decision or Selection
    การตัดสินใจหรือเลือกเงื่อนไข คือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการคือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวกการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น


หาเงื่อนไขให้เจอแล้วหาสิ่งที่ได้จากเงื่อนไขนั้นเป็นจริงหรือเป็นเท็จ

3.  การทำซ้ำ Repeation or Loop
     การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้งโดยมีเงื่อนไขในการควบคุม  หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรกเพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน โดยจะมีรูปแบบในการเขียนอยู่ 3 แบบ คือ

           3.1  การทำซ้ำแบบรู้รอบ รู้จำนวณ (Loop For)
เป็นการทำซ้ำแบบรู้รอบ รู้จำนวณโดยการทำเป็นเงื่อนไข เงื่อนไขของมันคือ เมื่อไรที่ได้เงื่อนไขเป็นจริงก็ให้กลับไปทำใหม่จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จตามจำนวณรอบที่กำหนดไว้

Ex..... การทำซ้ำของ Flowchart การหาสูตรคูณ



        3.2  การทำซ้ำแบบ ทำก่อนแล้วเช็คเงื่อนไข (Loop Until)
    เป็นการทำงานแบบ ทำกระบวนการต่างๆไปก่อนแล้วถึงจะมาตรวจสอบเงื่อนไขที่หลัง เป็นจริงทำ เป็นเท็จออก

Ex..... รับค่ามาหนึ่งจำนวณ แล้วบอกว่าเป็นตัวอักษร หรือไม่ใช่ตัวอักษร ทำงานจนกว่าจะกดปุ่ม 0 ให้เลิกการทำงาน


   
       3.3  การทำซ้ำแบบ เช็คเงื่อนไขก่อนทำ (Loop While)
 ทำงานแบบตรวจสอบเงื่อนไขครั้งหนึ่งก่อนเสมอ แล้วถึงจะหาว่า เป็นจริงหรือเป็นเท็จ

Ex..... ให้รับค่าหนึ่งค่าแล้วตรวจสอบว่าเป็น ช/ญ ถ้าเป็น ช ให้ถามว่าหนักเท่าไหร่ ถ้าเป็น ญ ให้ถามว่าสูงเท่าไหร่ ถ้ากด 9 ให้จบการทำงาน

............................................................................................................................................................





เอกสารอ้างอิง

หนังสือ : วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
: ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม

: โอภาส   เอี่ยมสิริวงศ์ :

บทที่8 : อัลกอริทึมและการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
ตั้งแต่หน้า232 - 271


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น